การโฆษณาประเภทต่างๆ
1.การโฆษณาผ่านทางแบนเนอร์
เว็บแบนเนอร์ (อังกฤษ: web banner) เรียกโดยย่อว่า แบนเนอร์ คือรูปแบบหนึ่งของการโฆษณาบนเวิลด์ไวด์เว็บ เป็นการวางภาพโฆษณาลงไปบนหน้าเว็บแล้วทำไฮเปอร์ลิงก์กลับไปยังเว็บที่โฆษณา ด้วยจุดประสงค์เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมให้เข้าไปยังเว็บไซต์ที่โฆษณานั้นผ่านการคลิก เว็บแบนเนอร์สร้างขึ้นจากไฟล์รูปภาพทั่วไปเช่น GIF JPEG PNG หรือใช้จาวาสคริปต์เชื่อมโยงเทคโนโลยีมัลติมีเดียอย่างอื่นเช่น แฟลช ช็อกเวฟ จาวา หรือซิลเวอร์ไลต์ เป็นต้น และอาจมีการใช้ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือวิดีโอมาผสมผสานเพื่อนำเสนอให้โดดเด่นมากที่สุด ปกติแล้วภาพในเว็บแบนเนอร์จะมีอัตราส่วนขนาดกว้างยาวที่สูง (ซึ่งจะทำให้แบนเนอร์มีขนาดกว้างแต่แบน หรือสูงแต่แคบ) ในลักษณะเดียวกับป้ายโฆษณา (เรียกว่าแบนเนอร์เหมือนกัน) ซึ่งภาพเหล่านี้จะถูกจัดวางลงในหน้าเว็บที่มีเนื้อหาน่าสนใจ
(อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki )
2. การโฆษณาผ่านทางป๊อบ
โดยทั่วไป ป๊อปอัพ (Pop-Up) โฆษณาแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
Pop-Up Advertising เป็นโฆษณาที่แยกออกเป็นเว็บบราวเซอร์หน้าต่างใหม่ และจะปรากฏขึ้นพร้อมกับเว็บเพจที่มีโฆษณาสินค้านั้น โดย Pop-Up โฆษณาจะอยู่ด้านบนของเว็บเพจที่ผู้ใช้เรียกทำงานอยู่ (Active Window)
Pop-Under Advertising เป็นโฆษณาที่แยกออกเป็นเว็บบราวเซอร์หน้าต่างใหม่เช่นเดียวกับ Pop-Up แต่จะอยู่ด้านล่างของเว็บเพจที่ผู้ใช้เรียกทำงานอยู่ ดังนั้น ผู้ใช้จะต้องปิดเว็บเพจนั้นเสียก่อน จึงจะเห็นหน้าโฆษณานี้
หมายถึง รายการเลือกที่จะผุดขึ้น เมื่อกดเมาส์ที่ลูกศรหลังรายการนั้น มักจะเป็นรายการที่ให้เลือกในกรอบสนทนาอีกทีหนึ่ง ไม่ใช่รายการเลือกที่มาจากบาร์เมนู (menu bar) เมื่อเลือกรายการใดแล้ว ก็จะแสดงรายการที่เลือกนั้นให้เห็นอยู่ตลอด
Pop-Up Advertising เป็นโฆษณาที่แยกออกเป็นเว็บบราวเซอร์หน้าต่างใหม่ และจะปรากฏขึ้นพร้อมกับเว็บเพจที่มีโฆษณาสินค้านั้น โดย Pop-Up โฆษณาจะอยู่ด้านบนของเว็บเพจที่ผู้ใช้เรียกทำงานอยู่ (Active Window)
Pop-Under Advertising เป็นโฆษณาที่แยกออกเป็นเว็บบราวเซอร์หน้าต่างใหม่เช่นเดียวกับ Pop-Up แต่จะอยู่ด้านล่างของเว็บเพจที่ผู้ใช้เรียกทำงานอยู่ ดังนั้น ผู้ใช้จะต้องปิดเว็บเพจนั้นเสียก่อน จึงจะเห็นหน้าโฆษณานี้
หมายถึง รายการเลือกที่จะผุดขึ้น เมื่อกดเมาส์ที่ลูกศรหลังรายการนั้น มักจะเป็นรายการที่ให้เลือกในกรอบสนทนาอีกทีหนึ่ง ไม่ใช่รายการเลือกที่มาจากบาร์เมนู (menu bar) เมื่อเลือกรายการใดแล้ว ก็จะแสดงรายการที่เลือกนั้นให้เห็นอยู่ตลอด
( อ้างอิง https://mamongdoo.wordpress.com )
3. การโฆษณาผ่านทางอีเมล์
เป็นการแนบข้อมูลสินค้าและบริการของบริษัทไปกับอีเมล์เพื่อส่งไปยังปลายทาง
ซึ่งอาจเป็นบุคคลทั่วไป บริษัท
หรือจากรายชื่อผู้ที่เคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่บันทึกไว้ในฐานข้อมูลของบริษัทก็ได้
นับว่าเป็นรูปแบบการโฆษณาที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและยังสะดวก รวดเร็ว
สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากพร้อมกันในเวลาเดียวได้
(อ้างอิง https://mail.google.com/mail/u/0/#ad/157 )

4. การโฆษณาผ่านทาง URL
อาศัยเครื่องมือประเภทเว็บไดเร็กทอรี่และเสิร์ชเอ็นจิ้นใช้สำหรับสืบค้นข้อมูลที่มีอยู่ในฐานข้อมูลในลักษณะการเชื่อมโยงด้วย ข้อความโฆษณา
(อ้างอิง http://club7.freetzi.com )
(อ้างอิง http://club7.freetzi.com )
5. การโฆษณาผ่านห้องสนทนาและบล็อก
ห้องสนทนา (Chat Room) เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2
ทาง กล่าวคือ
คู่สนทนาสามารถโต้ตอบระหว่างกันได้ในเวลาที่เกิดขึ้นจริง ณ ขณะนั้น โดยที่ไม่ต้องเผชิญหน้ากัน
ห้องสนทนาจึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่นำมาใช้เป็นช่องทางโฆษณาได้ซึ่งสามารถนำเสนอสินค้าและบริการได้ตลอดเวลาที่มีการออนไลน์อยู่
และสามารถย้อนกลับมานำเสนอสินค้าชนิดเดิมกับกลุ่มลูกค้าเดิมซ้ำได้ อย่างไรก็ตาม
วิธีนี้ก็มีข้อจำกัดที่สำคัญ คือต้องใช้เวลาในการสนทนานาน
และกลุ่มเป้าหมายที่ได้ค่อนข้างแคบ
(อ้างอิง http://learn-seo-on-site.blogspot.com/search?updated-max)
6. การโฆษณาผ่านเกมออนไลน์ โฆษณา เป็นการประกาศสินค้าหรือบริการที่ต้องการให้ประชาชนโดยทั่วไปทราบ จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้คนทั่วไปรู้จักสินค้าหรือการบริการนั้น ในอดีตการเริ่มต้นของการโฆษณาจะเป็นลักษณะของการร้องป่าวประกาศเชิญชวน ปัจจุบันการโฆษณาทำได้ตามสื่อต่างๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ เป็นต้น โดยเจ้าของกิจการจะว่าจ้างบริษัทรับทำโฆษณา เพื่อทำการโฆษณาสินค้าและบริการในสื่อต่างๆ เช่น ป้ายโฆษณากลางแจ้งตามถนนสายหลัก ซึ่งเป็นสื่อที่ช่วยประหยัดงบประมาณได้และสามารถตอกย้ำตราสินค้าได้อีกทางหนึ่ง (วิกิพีเดีย)
เวลาเราเล่นเกมออนไลน์หลายๆเกม มักจะพบว่า มีป้ายโฆษณา หรือแบนเนอร์ใน Interface ขณะต่างๆให้เห็นอย่างต่อเนื่อง เป็นการโฆษณาโดยใช้เกม หรือเรียกว่า Advertising Gaming หรือ AdverGame หลักการของ AdverGame ถูกตั้งขึ้นโดย Anthony Giallourakis ในปี 2000 ต่อมาจึงถูกตีพิมพ์ในคอลัมน์ Jargon Watch ในนิตยสาร Wired รายเดือนของสหรัฐอเมริกาในปี 2001 แนวคิดของ Anthony Giallourakis จึงทำให้บริษัทเกมใหญ่ๆหลายแห่งมีแนวคิดในการให้บริการเกมฟรี โดยจะมีรายได้มาจากการโฆษณา เช่นเกมในปัจจุบัน
(อ้างอิง: https://www.gotoknow.org/posts/288011)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น