วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การโฆษณาประเภทต่างๆ

          

การโฆษณาประเภทต่างๆ

1.การโฆษณาผ่านทางแบนเนอร์

           เว็บแบนเนอร์ (อังกฤษ: web banner) เรียกโดยย่อว่า แบนเนอร์ คือรูปแบบหนึ่งของการโฆษณาบนเวิลด์ไวด์เว็บ เป็นการวางภาพโฆษณาลงไปบนหน้าเว็บแล้วทำไฮเปอร์ลิงก์กลับไปยังเว็บที่โฆษณา ด้วยจุดประสงค์เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมให้เข้าไปยังเว็บไซต์ที่โฆษณานั้นผ่านการคลิก เว็บแบนเนอร์สร้างขึ้นจากไฟล์รูปภาพทั่วไปเช่น GIF JPEG PNG หรือใช้จาวาสคริปต์เชื่อมโยงเทคโนโลยีมัลติมีเดียอย่างอื่นเช่น แฟลช ช็อกเวฟ จาวา หรือซิลเวอร์ไลต์ เป็นต้น และอาจมีการใช้ภาพเคลื่อนไหว เสียง หรือวิดีโอมาผสมผสานเพื่อนำเสนอให้โดดเด่นมากที่สุด ปกติแล้วภาพในเว็บแบนเนอร์จะมีอัตราส่วนขนาดกว้างยาวที่สูง (ซึ่งจะทำให้แบนเนอร์มีขนาดกว้างแต่แบน หรือสูงแต่แคบ) ในลักษณะเดียวกับป้ายโฆษณา (เรียกว่าแบนเนอร์เหมือนกัน) ซึ่งภาพเหล่านี้จะถูกจัดวางลงในหน้าเว็บที่มีเนื้อหาน่าสนใจ
(อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki )


2. การโฆษณาผ่านทางป๊อบ


           โดยทั่วไป ป๊อปอัพ (Pop-Up) โฆษณาแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
Pop-Up Advertising เป็นโฆษณาที่แยกออกเป็นเว็บบราวเซอร์หน้าต่างใหม่ และจะปรากฏขึ้นพร้อมกับเว็บเพจที่มีโฆษณาสินค้านั้น โดย Pop-Up โฆษณาจะอยู่ด้านบนของเว็บเพจที่ผู้ใช้เรียกทำงานอยู่ (Active Window)
Pop-Under Advertising เป็นโฆษณาที่แยกออกเป็นเว็บบราวเซอร์หน้าต่างใหม่เช่นเดียวกับ Pop-Up แต่จะอยู่ด้านล่างของเว็บเพจที่ผู้ใช้เรียกทำงานอยู่ ดังนั้น ผู้ใช้จะต้องปิดเว็บเพจนั้นเสียก่อน จึงจะเห็นหน้าโฆษณานี้
หมายถึง รายการเลือกที่จะผุดขึ้น เมื่อกดเมาส์ที่ลูกศรหลังรายการนั้น มักจะเป็นรายการที่ให้เลือกในกรอบสนทนาอีกทีหนึ่ง ไม่ใช่รายการเลือกที่มาจากบาร์เมนู (menu bar) เมื่อเลือกรายการใดแล้ว ก็จะแสดงรายการที่เลือกนั้นให้เห็นอยู่ตลอด
( อ้างอิง https://mamongdoo.wordpress.com )



3. การโฆษณาผ่านทางอีเมล์

               
                เป็นการแนบข้อมูลสินค้าและบริการของบริษัทไปกับอีเมล์เพื่อส่งไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นบุคคลทั่วไป บริษัท หรือจากรายชื่อผู้ที่เคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่บันทึกไว้ในฐานข้อมูลของบริษัทก็ได้ นับว่าเป็นรูปแบบการโฆษณาที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและยังสะดวก รวดเร็ว สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากพร้อมกันในเวลาเดียวได้
(อ้างอิง https://mail.google.com/mail/u/0/#ad/157 )
                                 



4. การโฆษณาผ่านทาง URL

             อาศัยเครื่องมือประเภทเว็บไดเร็กทอรี่และเสิร์ชเอ็นจิ้นใช้สำหรับสืบค้นข้อมูลที่มีอยู่ในฐานข้อมูลในลักษณะการเชื่อมโยงด้วย ข้อความโฆษณา
(อ้างอิง http://club7.freetzi.com )






                                    

5. การโฆษณาผ่านห้องสนทนาและบล็อก


                ห้องสนทนา (Chat Room) เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง กล่าวคือ คู่สนทนาสามารถโต้ตอบระหว่างกันได้ในเวลาที่เกิดขึ้นจริง ณ ขณะนั้น โดยที่ไม่ต้องเผชิญหน้ากัน ห้องสนทนาจึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่นำมาใช้เป็นช่องทางโฆษณาได้ซึ่งสามารถนำเสนอสินค้าและบริการได้ตลอดเวลาที่มีการออนไลน์อยู่ และสามารถย้อนกลับมานำเสนอสินค้าชนิดเดิมกับกลุ่มลูกค้าเดิมซ้ำได้ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็มีข้อจำกัดที่สำคัญ คือต้องใช้เวลาในการสนทนานาน และกลุ่มเป้าหมายที่ได้ค่อนข้างแคบ
(อ้างอิง http://learn-seo-on-site.blogspot.com/search?updated-max)


6. การโฆษณาผ่านเกมออนไลน์           โฆษณา เป็นการประกาศสินค้าหรือบริการที่ต้องการให้ประชาชนโดยทั่วไปทราบ จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้คนทั่วไปรู้จักสินค้าหรือการบริการนั้น ในอดีตการเริ่มต้นของการโฆษณาจะเป็นลักษณะของการร้องป่าวประกาศเชิญชวน ปัจจุบันการโฆษณาทำได้ตามสื่อต่างๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ เป็นต้น โดยเจ้าของกิจการจะว่าจ้างบริษัทรับทำโฆษณา เพื่อทำการโฆษณาสินค้าและบริการในสื่อต่างๆ เช่น ป้ายโฆษณากลางแจ้งตามถนนสายหลัก ซึ่งเป็นสื่อที่ช่วยประหยัดงบประมาณได้และสามารถตอกย้ำตราสินค้าได้อีกทางหนึ่ง (วิกิพีเดีย)

          เวลาเราเล่นเกมออนไลน์หลายๆเกม มักจะพบว่า มีป้ายโฆษณา หรือแบนเนอร์ใน Interface ขณะต่างๆให้เห็นอย่างต่อเนื่อง เป็นการโฆษณาโดยใช้เกม หรือเรียกว่า Advertising Gaming หรือ AdverGame หลักการของ AdverGame ถูกตั้งขึ้นโดย Anthony Giallourakis ในปี 2000 ต่อมาจึงถูกตีพิมพ์ในคอลัมน์ Jargon Watch ในนิตยสาร Wired รายเดือนของสหรัฐอเมริกาในปี 2001 แนวคิดของ Anthony Giallourakis จึงทำให้บริษัทเกมใหญ่ๆหลายแห่งมีแนวคิดในการให้บริการเกมฟรี โดยจะมีรายได้มาจากการโฆษณา เช่นเกมในปัจจุบัน
(อ้างอิง: https://www.gotoknow.org/posts/288011)







































วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559

คำถามท้ายบทที่ 4


1.ข้อมูลแลพสารสนเทศต่างกันอย่างไร
ตอบ

ข้อมูลและสารสนเทศมีความแตกต่างกันคือ ข้อมูล เป็นข้อมูลที่ไม่ผ่านการประมวลผลที่แน่ชัดเป็นข้อมูลที่ได้มาแบบธรรมดา ไม่เป็นไปตามวิชาการ เช่นคำพูดคนที่สามารถบอกข้อมูลต่างๆที่เราร้มาได้ แต่ สารสนเทศเป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วและมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆเป็นจำนวนมากมาย

อ้างอิง : https://www.gotoknow.org/posts/30687
2.ระบบสารสนเทศทางธุรกิจคืออะไร มีบทบาทอย่างไรต่อองค์กรหรือภาคธุรกิจ จงอธิบาย
ตอบ

          ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (business information systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานของธุรกิจให้ดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยถูกออกแบบและพัฒนาให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้ทั้งองค์การ สามารถประสานงานและใช้ข้อมูลร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในระดับปฏิบัติงานและระดับบริหาร โดยเราสามารถจำแนกระบบสารสนเทศตามหน้าที่ทางธุรกิจตามหน้าที่บทบาทสำคัญต่อองค์กรหรือภาคธุรกิจทั่วไป พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศสร้างความท้าทายต่อผู้บริหารในการบริหารงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะการ บูรณา การระหว่างเทคโนโลยีกับการดำเนินธุรกิจ (Integration between Technology and Business Operations) โดยผู้บริหาร ต้องคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจ เทคโนโลยี และการตัดสินใจที่ต้องกระทำอย่างสอดคล้องกัน ผู้บริหารต้อง สามารถ จัดการกับเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. กำหนดกลยุทธ์องค์การที่ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. กำหนดแผนงานสารสนเทศระดับองค์การและการดำเนินงานกำหนดโครงการสร้างหน่วยงานสารสนเทศ
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสารสนเทศขององค์การ (Information System Infrastructure) เช่นอุปกรณ์ ชุดคำสั่ง ระบบสื่อสาร และจัดการข้อมูล ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดศักยภาพและความ ยืดหยุ่นในการปรับ แต่งของงาน สาร สนเทศ ในองค์การ
4. กำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายในองค์การ พร้อมทั้งพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความพร้อมต่อการ ประยุกต์ เทคโนโลยี สารสนเทศ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่องค์การ



3.วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่ธุรกิจนำระบบสารสนเทศทางการบัญชีและการเงินมาใช้เพื่อประโยชน์
ตอบ
การบัญชี    รวบรวมจัดระบบและนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้ สารสนเทศที่สามารถวัดค่าได้หรืการประมวลผลเชิงปริมาณมากกว่าการแก้ปัญหาเชิง คุณภาพ

การเงิน 
1. การพยากรณ์ (Forecast) การศึกษา วิเคราะห์ การคาดการณ์ การกำหนดทางเลือกและการวางแผนทางด้านการเงินของธุรกิจ
2. การจัดการด้านการเงิน (Financial Management) เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริหารเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น รายรับรายจ่าย
3. การควบคุมทาการเงิน (Financial control) เพื่อติดตามผล ตรวจสอบ และประเมินความเหมาะสมในการดำเนินงานว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือไม่ โดยที่การตรวจสอบและการควบคุมทางการเงินของ ธุรกิจ

4.วัตถุประสงค์ที่ธรกิจนำระบบสารสนเทศด้านการตลาดและการขาย เพื่อประโยชน์ทางด้านใดจงสรุปมาพอเข้าใจ
ตอบ ประโยชน์ด้านการตลาดและงานขายจะรับผิดชอบในการกระจายสินค้าและบริการไปสู่ลูกค้า ตั้งแต่การศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการ การวางแผนและการสร้างความต้องการ  ตลอดส่งเสริมการขายกระทั่งสินค้าถึงมือลูกค้า

5.ระบบทันเวลาพอดี (Just-In-Time:JIT) คืออะไร เหมาะสมกับธุรกิจประเภทใด และเป้าหมายของการผลิตของระบบ jit อยู่ภายใต้เงื่อนไขใด
ตอบ ระบบทันเวลาพอดี (Just-In-Time:JIT) คือ การผลิตหรือส่งมอบสิ่งของที่ต้องในเวลาที่ต้องการ ด้วยจำนวนที่ต้องการ โดยใช้ความต้องการของลูกค้าเป็นเครื่องกำหนดปริมาณการผลิตและการใช้วัตถุดิบ  เหมาะสมกับธุรกิจการผลิตขององค์การต่างๆ เป้าหมายของการผลิตของระบบ JIT คือ
1. ต้องการควบคุมวัสดุคงคลังให้อยู่ในระดับที่น้อยที่สุดหรือเท่ากับศูนย์ (Zero Inventory)
2. ต้องการลดเวลานำหรือระยะเวลารอคอยในกระบวนการผลิตให้น้อยที่สุดหรือเท่ากับศูนย์ (Zero Lead Time)
3. ต้องการขจัดปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิตให้เป็นศูนย์ (Zero Failures)
4. ต้องการขจัดความสูญเปล่าในการผลิต

6.MRP คืออะไรเป็นระบบที่มีลักษณะอย่างไรเหมาะกับธุรกิจประภทใด
ตอบ  
         MRP คือ ระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบการผลิต เพื่อประกอบการวางแผนความต้องการวัสดุ เพื่อให้ธุรกิจสามารถจัดการวัตถุดิบอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประโยชน์ต่อการบริหารการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมคือ ลดการขาดแคลนวัตถุดิบที่จำเป็นในการผลิต, ประหยัดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่ายในการติดตามวัตถุดิบ

7.HRIS ช่วยการดำเนินการของฝ่ายบุคลากร ได้อย่างไรบ้าง
ตอบ   ช่วยการดำเนินการของฝ่ายบุคคลากรได้โดยสนับสนุนตั้งแต่การ วางแผน การจ้างงาน การพัฒนาและการฝึกอบรม ค่าจ้างเงินเดือน การดำเนินการงานวิจัย ช่วยให้บริหารทรัพยากรบุคคลเกิดประสิทธิภาพ

8.ระบบสารสนเทศมีส่วนช่วยในการติดต่อสื่อสารได้อย่างไร
ตอบ  ช่วยในการไหลเวียนของสารสนเทศภายในองค์การและความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมภายนอกตลอดจนเตรียมการในการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ เกิดความเข้าใจและทัศนคติที่ดีกับการนำระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้

9.ข้อมูลภายนอกซึ่งเป็นปัจจัยมีผลต่อการบริหารการเงินของธุรกิจ ได้แก่อะไรบาง
ตอบ  การสำรวจเงินเดือน อัตราการว่างงาน  อัตราเงินเฟ้อ

10.ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์คือระบบใด มีลักษณะอย่างไรและธูรกิจได้ประโยชน์อย่างไรบ้างจากระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ
ตอบ  ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์คือ ระบบสารสนเทศใดๆที่ช่วยสนับสนุนกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์กร มีลักษณะเป็นการใช้สารสนเทศเชิงกลยุทธ์เป็นอาวุทชิงความได้เปรียบ ลักษณะสำคัญคือ สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการทำธุรกิจของหน่วยงานได้ขนาดใหญ่นั่นคือบริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ระบบ SIS ได้โดยการช่วยกำหนดเป้าหมายของหน่วยงาน หรือในการช่วยเพิ่มสมรรถนะและผลผลิตได้อย่างมาก

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2559

คำถามท้ายบทที่ 3



1.เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม ทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินธุรกิจและธุรกรรมได้อย่างรวดเร็ว ส่ง ผลต่อมูลค่าทางธุรกิจมากมายให้มากมายให้แก่ภาคธุรกิจ จงยกตัวอย่างมูลค่าทางธุรกิจที่ได้รับจาก การนำเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมมาใช้
ตอบ   นำมาประยุกต์เพื่อใช้ในการสื่อสารภายในองค์กรแล้ว ยังสามารถเชื่อมโยงการทำธุรกิจระหว่างองค์กรกับบริษัทคู่ค้า

2.จงสรุปความความท้าทายในการใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับธุรกิจในยุคปัจจุบัน
ตอบ   การขยายตัวของอินเตอร์เน๊ต และ เทคโนโลยีด้านเว็บต่างๆ ส่งผลให้ศูนย์ข้อมูลกลายเป็นเครื่องมือสำคัญ ในเชิงกลยุทธ์มากกว่าที่ผ่านมา ทั้งในแง่ของการเพิ่มผลผลิตการยกระดับกระบวนการทางธุรกิจ และการผลักดันธุรกิจสู้การเปลี่ยนแปลงใหม่ใน รอบ 2  ทศวรรษที่ผ่านมา เพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะของธุรกิจ

3.สรุปความแตกต่างของเครือข่าย LAN , WAN , CAN , MAN มาให้เข้าใจ
ตอบ
 LAN คือระบบเครือข่ายขนาดเล็ก เป็นระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์กที่ใช้เชื่อมต่อกันในระยะไม่เกิน 5 กิโลเมตร
WAN คือระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นระบบเน็ตเวิร์กที่มีการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ
CAN คือระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ทำให้สำนักงานของมหาวิทยาลัย หรือองค์กรต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันได้
MAN คือระบบเครือข่ายขนาดกลาง เป็นระบบเน็ตเวิร์กที่ต้องอาศัย โครงข่ายการสื่อสารของผู้ให้บริการ

4.จงอธิบายคำศัพท์ที่เกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลต่อไปนี้มาอย่างเข้าใจ
ตอบ
4.1 Telecommunication การติดต่อสื่อสารด้วยการรับส่งข้อมูล ข่าวสารระหว่างตัวแปรผล
4.2 Medium เส้นทางทางกายภาพในการนำเสนอข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ
4.3 Protocol ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือภาษากลางในการสือสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน
4.4 WWW เครือข่ายที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก เรียกย่อๆว่าเว็ป
4.5 Internet เครือข่ายนานาชาติที่เกิดจากเครือขายเล็กๆมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวกันทั้งโลก
4.6 Extranet ระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร หรืออินทราเน็ต เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร
4.7 File Transfer Protocol โปรโตคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ถูกนำมาใช้ในการถ่ายโอนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
4.8 Client เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไปร้องขอบริการและรับบริการอย่างใดอย่างหนึ่งจาก server
4.8 Server เครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำให้บรการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
4.9 Web Brower โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็ป
4.10 Router อุปการณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายอย่างหนึ่ง



5.สื่อกลางข้อมูลแบบมีสายประกอบไปด้วยสายสัญญาณอะไรบ้าง
ตอบ  
         1.สายคู่บิดเกลียว (Twisted pair)
                1.1.สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน
                1.2.สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน

         2.สายโคแอกเชียล(Coaxial)
         3.เส้นใยนำแสง(Fiber optic)

6.สื่อกลางข้อมูลแบบไร้สายประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ   
          1.คลื่นวิทยุ (Radio Wave)
          2.สัญญาณไมโครเวฟ(Microwave)
          3.อินฟราเรด(Infraed)
          4.ดาวเทียม(Satilite)
          5.บลูทูธ(Bluuetooth)


7.ผู้เรียนคิดว่าเครืองข่ายสถาบันการศึกษา หรือองค์กรที่สังกัดอยู่ประกอบไปด้วยเครือข่ายชนิดใดบ้าง
ตอบ
       ระบบเครือข่ายแบบแพน (PAN)                          
       ระบบเครือข่ายแบบแลน (LAN)
8.ยกตัวอย่างอุปกรณ์ในระบบ (LAN) ที่พบเห็นในองค์กรธุรกิจ มา 2 ตัวอย่างพร้อมบอกประโยชน์ที่ได้รับ จากอุปกรณ์นั้นๆ
ตอบ
สวิตซ์ (Switch) คืออุปกรณ์เครืองข่ายที่ทำหน้าที่ในเรเยอร์ที่ 2 และทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตเฉพาะที่เป็นปลายทางเท่านั้น และทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชือมต่อกับพอร์ฺตที่เหลือส่งข้อมูลถึงกันในเวลาเดียวกัน ดังนั้น  อัตราการรับส่งข้อมูล หรือแบนด์วิธจึงไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์ปัจจุบันนิยมเชื่อมต่อแบบนี้มากกว่าฮับเพราะลดปัญหาการชนการของข้อมูล

เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องแม่ข่าย เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักในเครือข่าย ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการไฟล์ข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ใน เครือข่าย โดยปกติคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์มักจะเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง และ มีฮาร์ดดิกส์ความจำสูงกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย

9.เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครือข่ายอินทราเน็ต และเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ต มีความเหมือนกันหรือต่างกัน อย่างไร
ตอบ 
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลกโดยอาศัย โครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล

เครื่อข่ายอินทราเน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอรืแบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โพรโทคอล เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็ปไซต์และใช้เว็ปเบราว์เซอร์ได้

เครือข่ายเอกซ์ทราเน็ต คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร

10.ยกตัวอย่างบริการบนระบบเครืองข่ายอินเทอร์เน็ตที่ธุรกิจสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการธุรกิจมา 3 บริการ พร้อมบอกเหตุผลประกอบว่านำมาประยุกต์ใช้อย่างไร
ตอบ
           โรงพยาบาล ใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกประวัติการรักษาของคนไข้ 
           สถานศึกษา ใช้ในการเก็บรักษาประวัติการศึกษาของนักศึกษา 
           บริษัท ใช้ในการสแกนลายนิ้วมือการเข้าออก ของพนักงานในบริษัท













วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สรุป บทที่ 1 บทบาทการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการธุรกิจ

บทที่ 1บทบาทการใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการธุรกิจ

          จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ จะพบว่าธูรกิจมีการแข่งขันการสูงมาก ต้องอาศัยวิธีการแลพกลยุทธ์ต่างๆ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่จำเป็น เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดต้องมีการวางแฟนการดำเนินงานอย่างดี วิเคราะห์ความต้องการของตลาดหรือกลุ่มลูกค้าของตนเอง มีเงินลงทุนมีความกล้าและความอดทนสูงจึงจะสามารถนำพาธุรกิจของตนให้อยู่รอดและเจริญก้าวหน้าได้หากวางแผนการดำเนินการไม่ดี กลยุทธ์การดำเนินงานไม่ดี ขาดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจนั้นอาจจะประสบปัญหาไม่สามารถดำเนินงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึง

          จะเห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในปันจุบันเนื่องจากมีราคาไม่แพงจนเกินไปนัก  ประกอบกับสามารถนำไปใช้ได้กับงานหลากหลายชนิดธุรกิจปัจจุบันจึงได้นำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการดำเนินงานและถือว่าคอมพิวเตอร์มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานในองค์กรทำให้องค์กรสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดได้ ธุรกิจแต่ละประเภทนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานในรูปแบบแตกต่างกัน แลัววัตถุประสงค์ประสงค์ของการนำไปใช้งาน แต่จะมีวัตถุประสงค์หนึ่งที่เหมือนกัน

1.1 ความหมายและขอบเขตการจัดการธุรกิจ

        ในปัจจุบันได้เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ธุรดกิจจะดำเนินงานได้ประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นกับการจดการ และบุคคลสำคัญที่รับรับผิดชอบในการจัดการ โดยตรงก็คือผู้บริหารหารมีผู้บริหารที่มีความสามารถจึงเป็นสิ่งที่องค์กรธุรกิจทุกแห่งต้องการ ได้มีนักววิชาการหลายคนกล่าวถึงความหมายของการจัดการ (Management)หรือการบริหาร (Administration) ดังนี้
   
       Mary Parker Follett (1941) กล่าวว่าการจัดการคือ การบริหารการจัดการเป็นทิคการทำงาน
 
       Ricky W. Griffin (1999  :6) กล่าวว่า การจัดการ คือ กระบวนการ (Process) ของหารวางแผน (Planning) การจัดการองค์กร (Organiztion) การสั้งการ (Leading) และการควบคุม (COntrolling)

       George R. Terry  กล่าวว่า การบริหารการจัดการ คือ เป็นกระบวนการของการวางแผนการจัดองค์กร การกระตุ้นและการควบคุมให้บรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน โดยใช้ทรัพยากรบุคคลและอื่นๆ

       อุทิส ศิริวรรณ (2548 :23) การจัดการ (Management) หรือบริหาร (Administration) โดยทั่วๆ ไปว่าคำที่มีความหมายใกล้เคียงกันและมักใช้แทนกันได้ แต่ในทางธูรกิจจะนิยมใช้คำว่าการจัดการมากกว่า และเมื่อกล่าวถึงคำว่า การจัดการ หมายถึง กระบวนการในการประสมประสานทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยุ่เพื่อให้บรรลุผลสำเร็วตามวัตถุประสงค์ขององค์กร ทรัพยากรดังกล่าว ได้แก่


  1.         คน (Man) คือ ทรัพยากรบุคคลที่จะเป็นผู้ปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
  2.         วัสดุสิ่งของ (Material) คือ วัตถุดิบ เครื่องจักร อุปกรณ์และวัสดุสิ่งของต่างๆ ที่หามาเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ
  3.          เงินทุน (Money) คือ  ทรัพยากรสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการจัดหาทรัพยากรอื่นๆ
  4.          ข้อมูล (Information) คือ สถิติ ข่าวสาร และข้อมูลต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่สนับสนุนให้การประสานทรัพยากรอื่นๆ เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสม
     ทรัพยากรทั้ง 4 จะได้รับการประสมประสาน ผ่านกระบวนการการจัดการ

   สรุป ได้ว่า  การจัดการ (Management) หรือ อาจเรียกว่า การบริหาร หรือ การบริหารจัดการ หมายถึง ชุดของหน้าที่ต่างๆ ที่กำหนดทิศทางในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งหลายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร 

           1.1.1 ประเภทของผู้บริหารแบ่งตามระดับการจัดการ

                     ประเภทของผู้บริหารที่ทำหน้าที่ทางการบริหารจัดการสำหรับธุรกิจโดยแบ่งตามระดับการจัดการแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
                     1) ผู้บริหารระดับสูง เช่น ประธานบริษัท เป็นต้น เป็นผู้บริหารที่รับผิดชอบในการบริหารทิศทางการวางแผนกลยุทธและ นโนบายต่างๆ
                     2) ผู้บริหารระดับกลาง เช่น ผู้จัดการฝ่าย เป็นต้น เป็นผู้บริการที่มีหน้าที่ประสานงานระหว่างผู้บริหารงานระดับสูงและระดับล่าง และรับผิดชอบการวางแผนต่างๆๆ
                     3) ผู้บริหารระดับล่าง เช่น  หัวหน้างานเป็นต้น เป็นผู็บริหารที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานสำหรับ

           1.1.2 ประเภทของผู้บริหารแบ่งตามหน้าที่งาน

                    ประเภทของผู้บริหารที่ทำหน้าที่ทางบริหารจัดการสำหรับธุรกิจโดยแบ่งตามหน้าที่งานแบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่
                     1) ผู้บริหารการผลิต เป็นผู้บริหารที่รับผิดชอบในการผลิตสินค้าและบริการ
                     2) ผู้บริหารการตลาด เป็นผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการตลาดของสินค้าและบริการ
                     3) ผู้บริหารทรัพยากรบุคคล เป็นผู้บริหารที่รับผิดชอบการจัดการทรัพยากรบุคคล
                     4) ผู้บริหารการเงิน เป็นผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านการเงินและบัญชี
                     5) ผู้บริหารทั่วไป เป็นผู้บริหารที่รับผิดชอบในการประสานงานของทุกๆหน้าที่เข้าด้วยกัน

  ดังนั้นสรุปได้ว่า จากการแบ่งประเภทของผู้บริหารออกเป็น 2 ประเภทนั้นไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารที่แบ่งตามระดับการจัดการ หรือผู้บริหารแบ่งตามหน้าที่งานนั้น ผู้บริหารแต่ละหน้าที่งานจะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่างกันออกไป 

             1.2 วิวัฒนาการของการใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ

                   คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นประมาณ 50 ปีก่อนนั้น มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลจากอดีตอย่างมากมาย การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ ในทุกวงการเป็นไปอย่างแพร่หลาย
                   Schultheis & Summmer (1998) เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ มีวิวัฒนาการมาเป็นระยะๆทั้งนี้เป็นผลมาจากการคิดค้นและปรับปรุงเทคโนโลยีที่มีอยุ่ให้มันดีขึ้น

            1.2.1 ยุคประมวลผลข้อมูลหรือยุคดีพี (Data Processing Era : DP Era)

                     การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประเทศไทยเริ่มต้น เมื่อสำนักงานสถิติแห่งชาติได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเครื่องจะใหญ่เพื่อสำมะโนประชากรในราวปี พ.ศ. 2505

                      ดังนั้นการใช้คอมพิวเตอร์ในธุรกิจในยุคประมวลผลข้อมูล สามารถสรุปได้เป็น 6ประเด็นหลักๆ ได้ดังนี้ คือ
              
  1. ) ลักษณะการใช้งานทั่วไป
  2. ) จุดมึงหมายของการใช้คอมพิวเตอร์ในยุดประมวลผลข้อมูล
  3. ) รูปแบบของการประมวลผลข้อมูล
  4. ) เทคโนโลยีในยุดประมวลผลข้อมูล
  5. ) การบริหารจัดการแรงงานคอมพิวเตอร์
  6. ) การพัฒนาซอฟต์แวร์และระบบสารสนเทศ

          1.2.2 ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอที

                  ซึ่งนิยมเรียกสั้นๆ ว่า ยุคไอทีนั้น  เริ่มต้นในราวช่วงปี พ.ศ. 2525 ซึ่งหากดูจากชื่อเรียกของยุคแล้ว ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยี
                  การใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจในยุคเทคโนโยลีสารสนเทศสามารถสรุปเป็น 5 ประเด็นหลักได้ดังนี้ คือ 
  1.  ลักษณะการใช้งานทั่วไป
  2.  การประยุกต์ในงานด้านอื่นๆ                   
  3. ระบบสารสนเทศในธุรกิจ
  4. โปรแกรมสำเร็จรูป
  5. การบริหารจัดการงานคอมพิวเตอร์

        1.2.3 ยุคเครื่อข่ายหรือยุคเน๊ตเวอร์ (Network Era)

                 เป็นยุคที่มีการผสมผสานการใช้งานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ากับเทคโนโลยีโทรคมนาคมเพื่อให้ทำงานร่วมกันเป็นระบบเครื่อข่าย

                 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นการกำเนินธุรกิจในยุคเครือข่ายมีการเปลี่ยนแปล 4 ด้านสรุปได้ดังนี้ คือ 
  1.  การทำงานภายในองค์การจากเดิมทำงานแบบบุคคล
  2.  ระบบงาน
  3.  โครงสร้างองค์กรธุรกิจ
  4. หารประยุกต์ในการดำเนินธุรกิจ          

              1.3 ลักาณะการใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ

                    ถึงแม้ว่าแต่ละธุรกิจจะมีการแบ่งโครงสรา้งขององค์การที่แตกต่างกัน แต่การใช้งานคอมพิวเตอร์ก็ยังมีความคล้ายคลึงกันซึ่งสามารถจำแนกได้ 3 ลักษณะ 
                     1. การใช้คอมพิวเตอร์ในภารกิจหลักของธุรกิจ
                     2. การใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานร่วมกันในงานกลุ่ม
                     3. การใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานส่วนบุคคล

               1.3.1 การใช้งานคอมพิวเตอร์ในภารกิจหลักของธุรกิจ

                         การใช้งานในลักษณะนี้เป็นการใช้งานระดับองค์กรในงานหลักของธุรกิจ โดยการประยุกต์กับงานด้านต่างๆ ภายในองค์การ
                         ดังนั้นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในภารกิจหลักจึงก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจดังนี้

  1.  การลดต้นทุนการดำเนินงาน
  2.  การเพิ่มรูปแบบการบริการให้มีความหลากหลายและรวดเร็ว
  3.  การเพิ่มผลผลิตขององค์การ
  4. การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้สูงขึ้น                     

               1.3.2 การใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานร่วมกัน


  1. การติดต่อสื่อสาร
  2. การปฏิสัมพันธ์
  3. การตัดสินใจและการแก้ปัญหา
                                     

                1.3.3 การใช้งานคอมพิวเตอร์ด้านส่วนบุคคล


  1. งานด้านการพิมพ์และการจัดเอกสาร
  2. งานด้านการจำหน่ายจดหมาย
  3. งานด้านการคำนวน
  4. งานด้านการนำเสอน
  5. งานด้านการจัดการข้อมูล
  6. งานด้านการนัดจดหมาย

                1.4  การใช้งานคอมพิวเตอร์ในระบบบริหาร

                   1.4.1 การใช้งานคอมพิวเตอร์ในงานสารสนเทศเพื่องานด้านบริหาร

  1. ระบบสารสนเทศระดับสูง  
           1.1 ระบบสารสนเทศในระดับกลยุทธ์
           1.2 ระบบสารสนเทศในระดับยุทธวิธี
           1.3 ระบบสารสนเทศในระดับปฏิบัติการ

      2. ระบบสารสนเทศตามสายงานธุรกิจ

                    1.4.2 ความจำเป็นระบบสารสนเทศต่องานบริหาร


  1. เพื่อการวางแผน
  2. เพื่อการตัดสินใจ
  3. เพื่อการบริหารจัดการ
  4. เพื่อการควบคุงาน
  5. เพื่อการติดตามและประเมินผล  

                     1.4.3 การใช้งานคอมพิวเตอร์ในการสร้างสารสนเทศเพื่อการบริหาร

                            คอมพิวเตอร์มีบทบาทในการสร้างสารสนเทศทั้งระดับปฏิบัติและระดับบริหารสารสนเทศเพื่อการบริหาร

                   1.5 การใช้สารสนเทศในระดับประยุกธ์

                       1.5.1 คุณลักษณะของสารสนเทศเพื่อการวางกลยุกธ์

  1. เป็นสารสนเทศที่มาจากทั้งภายในและภายนอกองค์กร
  2. เป็นข้อมูลที่ไม่มีโครงสร้าง
  3. เป็นสารสนเทศทีใช้ในงานพยากรณ์หรือประมาณการ
  4. เป็นสารสนเทศที่จัดทำในรูปเชิงสรุป
  5. เป็นข้อมูลที่ทัยสมัยและทันต่อเหตุการณ์   

                        1.5.2 แหล่งที่มาของสารสนเทศเพื่อการวางกลยุทธ์

          แหล่งที่มาของสารสนเทศมีทั้งจากภายในและภายนอก แต่เราจะกล่าวถึงแหล่งที่มาของสารสนเทศภายนอกองค์ ได้แก่

  1. สื่อสารมวลชน
  2. การสำรวจหรือวิจัยต่างๆ
  3. สมาคมหรือสถาบันต่างๆ
  4. การพูดคุยหรือพอปะสังสรรค์
  5. ห้องสมุดหรือศูนย์บริการข้อมูล
  6. การใช้บริการฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์
  7. อินเทอร์เน๊ต          

                        1.5.3 การรวบรวมและจัดเก็บสารสนเทศเพื่อการว่างแผนกลยุทธ์


  1. การบันทึกเทป
  2. การทำกฤตภาค
  3. การจัดทำเป็นดัชนี

                        1.5.4  ตัวอย่างการใช้สารสนเทศเพื่อการวางกลยุกธ์


  1. กลยุทธ์การเงิน
  2. การพยากรณ์ทางการเงินระยะยาว

                         1.5.5 กลยุทธ์ทางการผลิต

                                   แฟนกลยุทธ์ทางการผลิตจะต้องคำนึงถึงแฟนการลงทุนระยะยาวเกี่ยวกับการผลิต

                         1.5.6 กลยุทธ์ทางทรัพยากรบุคคล

                                  แผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรบุคคล เป็นการจัดทำและรวบรวมสารสนเทศ เพื่อให้องค์การมีบุคลากรที่มีคุณภาพมาทำงานในอนาคตประกอบด้วยนโยบายการจ้างพนักงาน
          

                      1.6  การใช้สารสนเทศในระดับยุทธวิธี

                                    มีประเด็นที่สามารถนำมาพิจารณาการใช้สารสนเทศในระดับประยุทธิวิธีประกอบด้วย 3 ประเด็น ดังนี้ 

                           1.6.1 คุณลักษณะของสารสนเทศเพื่อการวางแผนยุทธวิธี

  1. คุณลักษณะของสารสนเทศเพื่อการวางแผนยุทธวิธี
  2. สารสนเทศภายในจะเกิดจากข้อมูลระดับปฏิบัติการ                
                 2.1  รายงานสรุป
                 2.2  รายงานกรณีพิเศษ 
                 2.3  รายงานที่เร่งด่วน
      3. เป็นลักษณะเชิงเปรียบเทียบ
      4. เป็นสารสนเทศที่มาจากภายในและภายนอก

                          1.6.2 แหล่งที่มาและการจัดเก็บสารสนเทศเพื่อการวางกลยุทธวิธี


  1. สารสนเทศจากทั้งภายในและภายนอก
  2. ข้อมูลด้านบุคลากร

                          1.6.3 ตัวอย่างการใช้สารสนเทศเพื่อการวางแผนยุทธวิธี


  1. งานบัญชีและการเงิน

          1.1 งานงบประมาณ
          1.2 งานบริหารเงินสด
          1.3 งานบริหารงานลงทุน
      2. งานขายและการตลาด
      3. งานการผลิตการวางแผนความต้องการใช้วัตถุดิบ
      4. งานทรัพยากรบุคคล

                           1.7 การใช้สารสนเทศในระดับปฏิบัติการ

                           1.7.1 คุณลักษณะของสารสนเทศสำหรับแผนปฏิบัติการ

                                    ดังนั้นสารสนเทศเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการจะมีลักษณะดังนี้

  1. เป็นสารสนเทศที่มาจากภายในองค์การ
  2. เป็นสารสนเทศที่มีโครงสร้างแน่นอน
  3. เป็นสารสนเทศที่เกิดจากการปฏิบัติงาน
  4. เป็นสารสนเทศที่มีรายระเอียด ชัดเจน
  5. เป็นสารสนเทศที่ใช้ควบคุมการทำงานของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงาน

                           1.7.2 แหล่ที่มาของสารสนเทศสำหรับแผนปฏิบัติการ

                                    สำหรับแหล่งที่มาของสารสนเทศสำหรับแผนปฏิบัติการจะมาจากภายในองค์การในระดับปฏิบัติที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ

                           1.7.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล

                                    การเก็บรวบรวมจะเป็นการเก็บรวบรวมในรูปแบบของการคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูล

                           1.7.4 ตัวอย่างการใช้สารสนเทศในการวางแผนปฏิบัติการ


  1. สำหรับงานขายและการตลาด
  2. สำหรับงานบัญชีและการเงิน
  3. สำหรับงานผลิต                                    

                     1.8 การใช้คอมพิวเตอร์กับการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ

                                  ธุรกิจใดมีการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพ ย่อมจะมีความสามารถที่จะทำให้ค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆ ของตนมีลดตามไปด้วย โดยเราจะพบว่ายิ่งธุรกิจมีค่าใช้จ่ายลดน้อยลงเท่าใด ต้นทุนการประกอบการก็ยิ่งจะลดลงได้มากขึ้นเท่านั้น
                                   การดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพสามารถเกิดได้ไม่ยากด้วยนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นอุปกรณ์พื้นฐานจะสามารถลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานในด้านต่างๆของธุรกิจ

                      1.9 คอมพิวเตอร์กับการสนับสนุนการประดิษฐ์คิดค้นทางธุรกิจ

                                   การใช้คอมพิวเตอร์ในองค์การธุรกิจดังกล่าวสามารถผลิตสินค้า บริการ และกระบวนการใหม่ๆ ได้ไม่ยาก โดยคอมพิวเตอร์จะช่วยเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรขององค์การดังกล่าวสามารถใช้ความคิดริเริ่ม และจินตนาการของตนเพื่อประดิษฐ์คิดค้นใหม่ๆ ทางธุรกิจได้อย่างอิสระ จะมีความได้เปรียบทางการแข่งขันเหนือคู่แข่งทางธุรกิจ