วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

งานบทที่ 9


งานบทที่ 9

         คำสั่ง ให้วางแผนการตลาดอิเล็ดทรอนิคส์จากบริษัทที่นักศึกษาสนใจคนละ 1 แห่ง โดยอธิบายวิธีการอย่างละเอียดตามหัวข้อดังนี้1.การทำวิจัยการตลาด2.การกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด3.การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า4.การกำหนดราคา5.การจัดช่องทางการจำหน่าย

วิจัยการตลาด

 บริษัท ลาซาด้า จำกัด
วัตถุประสงค์  ของ ห้างหุ้นส่วน/บริษัท นี้ มี 38 ข้อ ดังนี้
1. ซื้อ จัดหา รับ เช่า เช่าซื้อ ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครอง ปรับปรุง ใช้ และการจัดการโดยประการอื่น ซึ่งอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งทรัพย์สินใดๆ ตลอดจนดอกผลของทรัพย์สินนั้น
2. ขาย โอน จำนอง จำนำ แลกเปลี่ยน และจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งทรัพย์สินโดยประการอื่น
3. เป็นนายหน้า ตัวแทน ตัวแทนค้าต่างในกิจการและธุรกิจทุกประเภท เว้นแต่ในธุรกิจประกันภัย การหาสมาชิกให้สมาคม และการค้าหลักทรัพย์
4. กู้ ยืมเงิน เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร นิติบุคคล หรือสถาบันการเงินอื่น และให้กู้ยืมเงิน ให้สินเชื่อหรือให้เครดิตด้วยวิธีการอื่นแก่วิสาหกิจในเครือหรือสาขา เว้นแต่ในธุรกิจธนาคาร ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
5. ทำการจัดตั้งสำนักงานสาขา สำนักงานตัวแทน สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค หรือแต่งตั้งตัวแทนทั้งภายในและภายนอกประเทศ
6. เข้าเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด
7. บริษัทมีสิทธิออกหุ้นในราคาสูงกว่ามูลค่าของหุ้นที่ตั้งไว้
8. ประกอบธุรกิจบริการค้ำประกันหนี้สิน ความรับผิดและการปฏิบัติตามตามสัญญาของบุคคลอื่น รวมทั้งรับบริการค้ำประกันบุคคลซึ่งเดินทางเข้ามาในประเทศหรือเดินทางออกไปต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง กฎหมายว่าด้วยภาษีอากรและกฎหมายอื่นๆ
9. ประกอบธุรกิจการประมูลเพื่อขายสินค้า และรับจ้างทำของ ตามวัตถุประสงค์ทั้งหมด ให้แก่บุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล ส่วนราชการ และองค์การของรัฐ
10. ประกอบกิจการให้บริการวิเคราะห์และวิจัยด้านเศรษฐกิจและการประกอบธุรกิจให้แก่วิสาหกิจในเครือหรือสาขาไม่ว่าในประเทศไทยหรือต่างประเทศ
11. จัดให้ได้มา ถือ ใช้ ขาย โอน ให้เช่า อนุญาตให้ใช้ จำนองหรือจัดการโดยประการอื่น ซึ่งสิทธิบัตรแห่งประเทศไทยหรือของประเทศอื่นใด สิทธิตามสิทธิบัตร ใบอนุญาตและเอกสิทธิ์ การประดิษฐ์ การปรับปรุงและกรรมวิธีการผลิต ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้า
12. ค้ำประกันหรือวางหลักประกันกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือองค์กรที่มีอำนาจอื่นๆ เพื่อวัตถุประสงค์ในการทำสัญญาประกันเพื่อให้ปล่อยตัวกรรมการเจ้าหน้าที่หรือพนักงานของบริษัทซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาในการกระทำความผิดทางอาญาใดๆ จากความควบคุม โดยมิได้ทำเป็นการค้า
13. ประกอบกิจการให้บริการด้านการบริหารงานบุคคล การฝึกอบรมและการพัฒนาในภูมิภาค ให้แก่วิสาหกิจในเครือหรือสาขาไม่ว่าในประเทศไทยหรือต่างประเทศ
14. ประกอบธุรกิจให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการสำรวจความเห็นสาธารณะและการวิจัยค้นคว้า
15. ประกอบธุรกิจร้านอาหาร
16. ประกอบธุรกิจพัฒนาและให้คำแนะนำทรัพยากรบุคคลต่างชาติ เกี่ยวกับด้านบริหารงาน การตลาดและจัดจำหน่าย
17. ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม การประกอบสินค้าทางเกษตรกรรม
18. ประกอบธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้า วัสดุ อันเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ตามที่ระบุไว้นี้
19. ประกอบธุรกิจด้านการเงินและเครดิต เช่น การให้เครดิตผ่านทางบัตรเครดิตหรือบัตรอื่นใด เว้นแต่ในธุรกิจธนาคาร ธุรกิจเงินทุน และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
20. ประกอบกิจการบริการจัดเก็บ รวบรวม จัดทำ จัดพิมพ์เผยแพร่สถิติ ข้อมูลในทางไปรษณีย์ โลจิสติกส์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การเงิน การตลาด รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินผลในการดำเนินธุรกิจ
21. ประกอบธุรกิจสร้าง บริหาร พัฒนา และให้บริการห้างสรรพสินค้าออนไลน์ ทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงการผลิตเก็บเพจ โฮมเพจ ข้อมูลข่าวสาร และสื่อต่างๆ และการเก็บรวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทุกชนิด ทุกประเภทเพื่อเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต รวมถึงกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบรักษาความปลอดภัยสื่อสารสารสนเทศ
22. ประกอบธุรกิจให้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยการเปิดรับสมัครสมาชิก ให้แก่สมาชิก ให้บริการค้นคว้าข้อมูล จำหน่าย สินค้าตามวัตถุประสงค์ และสิ่งอื่นใดอันเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัท การชำระเงิน และการรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การส่งสินค้า สินค้า และ/หรือ สินค้าอื่นใดอันเกี่ยวกับธุรกิจของบริษัททางอิเล็กทรอนิกส์
23. ประกอบธุรกิจโฆษณา ออกแบบโฆษณา การตีพิมพ์และบริการนายหน้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต สิ่งพิมพ์และสื่อต่างๆ รวมถึงให้บริการเช่าพื้นที่โฆษณา ประชาสัมพันธ์ทางอินเทอร์เน็ต ทางสิ่งพิมพ์และสื่อต่างๆ
24. ประกอบธุรกิจนำเข้า ซื้อ รวบรวม ขายและให้บริการอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ โปรแกรม ซอฟต์แวร์ เว็บไซต์ เว็บเพจ โฮมเพจ ฐานข้อมูล ระบบปฏิบัติการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมต่างๆ ตลอดจนอุปกรณ์โทรคมนาคม รวมทั้งทรัพย์สินอื่นๆ เพื่อประโยชน์ในกิจการบริษัท
25. ประกอบกิจการโทรคมนาคมซึ่งรวมทั้งการให้บริการอินเทอร์เน็ต หมายรวมถึง การให้บริการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์เพื่อการติดต่อและใช้ระบบสารสนเทศร่วมกัน เฉพาะบริการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การอ่าน การบันทึกลงแผงข่าวและการประยุกต์ใช้งานระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การเข้าถึงศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ห่างไกล การโอนแฟ้มข้อมูลจากเครื่องอื่นๆ บนเครือข่าย การท่องเที่ยวไปในเครือข่ายด้วยโปรแกรมสืบค้นข้อมูลประเภทต่างๆ ทั้งนี้ การโต้ตอบ (interactive) กับผู้ใช้เครือข่ายรายอื่นๆ จะต้องกระทำในลักษณะของข้อความนั้น โดยการได้รับสิทธิ หรืออนุญาตจากส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือโดยบทบัญญัติอันเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคม
26. ประกอบกิจการขนส่ง และขนถ่ายสินค้า และคนโดยสาร ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ รวมทั้งรับบริการนำของออกจากท่าเรือตามพิธีการศุลกากร และการจัดวางการขนส่งทุกชนิด
27. ประกอบธุรกิจบริการซ่อมแซม บำรุงรักษาและพัฒนาอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์โปรแกรม ซอฟต์แวร์ เว็บไซต์ เว็บเพจ โฮมเพจ ฐานข้อมูล ระบบปฏิบัติการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมต่างๆ ตลอดจนอุปกรณ์โทรคมนาคม รวมทั้งทรัพย์สินอื่นๆ เพื่อประโยชน์ในกิจการของบริษัท
28. ประกอบกิจการให้การบริการด้านการบริหารทั่วไป ให้คำแนะนำและปรึกษา วางแผนธุรกิจ และประสานงานทางด้านธุรกิจ การบัญชี วางแผน ด้านการตลาด และด้านการส่งเสริมการขายรวมทั้งให้บริการสนับสนุนแก่วิสาหกิจในเครือหรือสาขา ไม่ว่าในประเทศไทย หรือต่างประเทศ
29. ทำการติดต่อและทำความตกลงกับกระทรวง ทบวง กรม จังหวัด อำเภอ เทศบาล เจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่เพื่อขอรับสิทธิ ใบอนุญาตหรือสัมปทาน หรือสิทธิพิเศษที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ต่อการประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ของบริษัท
30. ประกอบธุรกิจให้บริการทางตรงและทางอ้อม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยผ่านระบบเครือข่าย โดยใช้โปรแกรมเฉพาะ และ/หรือ โปรแกรมทั่วไป จาก/ถึง ลูกค้า
31. ประกอบธุรกิจขาย จำหน่าย นำเข้าเพื่อค้าปลีก ค้าส่ง ส่งออก วางจำหน่าย เป็นศูนย์กลางค้าขายออนไลน์ซึ่งสินค้าประเภทซึ่งสินค้าประเภท เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับ เครื่องแต่งกายและสินค้าแฟชั่น ทุกประเภท
32. ประกอบธุรกิจขาย จำหน่าย นำเข้าเพื่อค้าปลีก ค้าส่ง ส่งออก วางจำหน่าย เป็นศูนย์กลางค้าขายออนไลน์ซึ่งสินค้าประเภทซึ่งสินค้าประเภท เครื่องกีฬาทุกชนิด อุปกรณ์สันทนาการ อุปกรณ์ของใช้กลางแจ้ง ของแต่งบ้าน ของแต่งสวน เต้น รวมทั้ง จักรยาน เกม ของเล่น ของใช้สำหรับเด็ก เครื่องดนตรีและอุปกรณ์สำหรับเครื่องดนตรี เครื่องใช้สำหรับการเดินทาง เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาด
33. ประกอบธุรกิจขาย จำหน่าย นำเข้าเพื่อค้าปลีก ค้าส่ง ส่งออก วางจำหน่าย เป็นศูนย์กลางค้าขายออนไลน์ซึ่งสินค้าประเภทซึ่งสินค้าประเภท กระดาษ เครื่องเขียน แบบเรียน แบบพิมพ์ ตู้เก็บเอกสาร เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องมือสื่อสาร รวมทั้งอะไหล่และอุปกรณ์ของสินค้าดังกล่าว
34. ประกอบธุรกิจประมวลผลข้อมูลหรือจัดระเบียบข้อมูลที่ประมวลผลแล้วทุกชนิดซึ่งประกอบไปด้วยการประมวลผลและการเตรียมรายงานข้อมูลรวมถึงการบันทึกข้อมูลหรือการเตรียมข้อมูลด้วยวิธีอื่นใด การแปลงข้อมูล
35. ประกอบธุรกิจพัฒนา บันทึกจัดเก็บ และจัดทำฐานข้อมูลโดยรวบรวมข้อมูล จัดเตรียมพื้นที่ในคอมพิวเตอร์สำหรับการบันทึกข้อมูลตามรูปแบบที่กำหนดไว้ และจัดทำข้อมูลให้เป็นระเบียบเพื่อสืบค้นหรือเข้าถึงข้อมูลด้วยระบบเชื่อมตรงออนไลน์
36. ประกอบธุรกิจขาย จำหน่าย นำเข้าเพื่อค้าปลีก ค้าส่ง ส่งออก วางจำหน่าย เป็นศูนย์กลางค้าขายออนไลน์ ซึ่งสินค้าประเภท สินค้าอุตสาหกรรม เครื่องจักร เครื่องยนต์ เครื่องมือกล เครื่องทุ่นแรง เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องสูบน้ำ เครื่องบำบัดน้ำเสียและเครื่องกำจัดขยะ ยานพาหนะ สินค้ายานยนต์ สินค้าประดับยนต์ รวมทั้งอะไหล่และอุปกรณ์ของสินค้าดังกล่าว
37. ประกอบธุรกิจขาย จำหน่าย นำเข้าเพื่อค้าปลีก ค้าส่ง ส่งออก วางจำหน่าย เป็นศูนย์กลางค้าขายออนไลน์ ซึ่งสินค้าประเภท สินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม เครื่องสำอาง เวชสำอาง น้ำหอม เครื่องมือเครื่องใช้เสริมความงาม อาหารเสริมทุกประเภท เครื่องแต่งกายของเด็กและผู้ใหญ่ ของเล่นเด็ก ของใช้เด็กอ่อน และสินค้าแฟชั่น สำหรับเด็กทุกประเภท
38. ประกอบธุรกิจขาย จำหน่าย นำเข้าเพื่อค้าปลีก ค้าส่ง ส่งออก วางจำหน่าย เป็นศูนย์กลางค้าขายออนไลน์ ซึ่งสินค้าประเภท เฟอร์นิเจอร์ สินค้าแต่งบ้าน เครื่องใช้และอุปกรณ์ไฟฟ้าในครัวเรือนและในสำนักงานหรือที่ใช้ในงานพาณิชยกรรมอื่นๆ รวมถึงเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเล่นวิดีทัศน์ เครื่องเล่นแถบบันทึก เครื่องเล่นจานเสียง เครื่องขยายเสียง เครื่องบันทึกแถบเสียง รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น แผ่นเสียง แผ่นภาพยนตร์ ซีดี วีซีดี วีดีโอ ดีวีดีหรือผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เครื่องโทรสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ระบบโฮมออโตเมชั่น ระบบควบคุมไฟฟ้า ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบภาพและเสียงและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เกม แผ่นเกม เกมดิจิตอล โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ระบบปฏิบัติการอิเล็กทรอนิกส์
                Lazada(www.lazada.co.id,www.lazada.com.my,www.lazada.com.ph), www.lazada.co.th, www.lazada.vn).คือห้างสรรพสินค้าออนไลน์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยดำเนินธุรกิจในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม
Lazada เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจ ECommerce ข้ามชาติในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเติบโตสูงที่สุด โดยมุ่งเน้นการให้บริการประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์ที่รวดเร็ว ปลอดภัย และสะดวกสบาย พร้อมกับหมวดสินค้าอันหลากหลาย ตั้งแต่โทรสัพท์มือถือ แท็บเล็ต สินค้าอิเล็กทรอนิคส์ไปจนถึงของใช้ภายในบ้าน ของเล่น แฟชั่น และอุปกรณ์กีฬา เป็นต้น
Lazada มีความตั้งใจอย่างเต็มที่ในการให้บริการที่ดีที่สุดกับลูกค้า รวมไปถึงการชำระเงินหลากหลายช่องทาง การชำระเงินปลายทาง การรับประกันสินค้าที่ครอบคลุม และการส่งคืนสินค้าได้ฟรี


การกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด



ขายของออนไลน์ กับเว็บไซต์ “ลาซาด้า Lazada ” เข้าถึงทุกกลุ่มลูกค้า


“ขายของออนไลน์” กลายเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่หลายคนให้ความสนใจกันอย่างกว้างขวาง เมื่อช่องทางออนไลน์สามารถเข้าถึงผู้คนได้มากมหาศาลและทุกหนแห่ง ยิ่งถ้าหากผนวกพฤติกรรมลูกค้าขาช้อปในยุคปัจจุบันเข้าไปอีก ก็ยิ่งส่งเสริมให้การขายของออนไลน์กลายเป็นที่ต้องการมากยิ่งขึ้น เมื่อลูกค้าส่วนมากอาศัยช่องทางอินเตอร์เน็ตเป็นคำตอบในการหาซื้อสินค้าที่ตนเองต้องการอย่างกว้างขวาง

“ขายของออนไลน์” ในบทความนี้มาพร้อมกับช่องทางหนึ่งที่จะอำนวยในเรื่องของการตลาดให้กับเจ้าของสินค้า กับช่องทางหรือเว็บไซต์ที่เปรียบเสมือนห้างสรรพสินค้าในโลกออนไลน์ ภายใต้ชื่อ “Lazada” บริษัทชั้นนำที่ขาช้อปออนไลน์รู้จักเป็นอย่างดี ดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐานสูง จึงถือโอกาสหยิบช่องทางนี้ขึ้นมาเพื่อนำเสนอในการสร้างรายได้เพื่อขายของออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ

“ขายของออนไลน์” หากกล่าวถึงคำนี้หลายคนอาจนึกถึงการสร้างเว็บไซต์เป็นร้านค้าของตัวเอง แล้วทำการค้าบนช่องทางอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก แต่บางครั้งการขายของออนไลน์แบบนั้นก็ยากที่จะเข้าถึงลูกค้าได้เหมือนกันในบางธุรกิจ กับเหตุผลที่ว่าปัจจุบันมีผู้ขายของออนไลน์เกิดขึ้นจำนวนมากมหาศาล ทำให้การค้นหาสินค้าผ่านช่องทาง Google เกิดผลลัพธ์ที่หลากหลายตามไปด้วย ถ้าถามว่าร้านค้าร้านไหนที่จะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากที่สุด คำตอบคือร้านค้าที่อยู่ในอันดับต้นๆ ของ Google อย่างแน่นอน และร้านค้าที่อยู่หน้าหลังๆ ของ Google ก็จะกลายเป็นร้านค้าที่เข้าไม่ถึงกลุ่มลูกค้าหรือเข้าถึงได้ยาก

ดังนั้นเราจึงมีอีกหนึ่งช่องทางเพื่อการขายของออนไลน์คล้ายๆ กับเป็นการฝากขาย โดยที่สินค้ายังอยู่ที่ตัวเราเหมือนเดิม ซึ่งใช้วิธีการพึ่งพาบริษัทอีคอมเมิร์ซหรือห้างสรรพสินค้าออนไลน์เช่น Lazada เป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์สินค้าของเจ้าของสินค้า โดยการสมัครเข้าร่วมและทำตามเงื่อนไขของบริษัท จากนั้นทางบริษัทก็จะนำรูปภาพสินค้าของผู้ค้าไปโปรโมทหรือทำการตลาดบนหน้าเว็บไซต์ Lazada โดยปัจจุบันเว็บไซต์ Lazada เรียกได้ว่าเป็นเว็บไซต์ชื่อดังที่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างมหาศาลเฉลี่ยกว่า 6,000,000 คนต่อเดือน จากผลการสำรวจจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ทั้งหมด


การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า

เมื่อเร็วๆ นี้ ลาซาด้าจัดงานประชุมครั้งสำคัญ เพื่อตอบรับกับจำนวนผู้ค้าออนไลน์ชาวไทยบนมาร์เก็ตเพลสที่มีจำนวนมากขึ้น โดยลาซาด้ารับหน้าที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนครบวงจรในการเพิ่มยอดขายให้กับผู้ค้าในแคมเปญใหญ่ระดับประเทศ ภายในงาน ผู้ค้าออนไลน์ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายบริษัทผู้นำในตลาดอีคอมเมิร์ซ เกี่ยวกับวิธีการทำตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายในร้านค้าออนไลน์ รวมไปถึงการเข้าถึงและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้บริโภค

ทีมผู้เชี่ยวชาญจากลาซาด้า ได้แบ่งปันข้อมูลความสำเร็จจากเทศกาลซื้อขายออนไลน์ที่ผ่านมา รวมไปถึงการให้คำแนะนำสำหรับผู้ค้าออนไลน์ในการจัดการกับแพลตฟอร์มการขายระหว่างช่วงที่มียอดสั่งซื้อเข้ามาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังมีผู้แทนจากเฟสบุ๊ค กูเกิ้ล และเคอรี่เอ็กซ์เพรส มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคชาวไทยในยุคดิจิตอล และคำแนะนำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขายให้กับผู้ค้าออนไลน์ในงาน

คุณธรินทร์ ธนียวัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการพาณิชย์ และการตลาด บริษัท ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า เราเห็นถึงความสำคัญของผู้ค้าออนไลน์ทุกคน รวมไปถึงผู้ค้าที่ยังใหม่ และผู้ที่ยังมีประสบการณ์การขายออนไลน์น้อย เราจึงจัดงานครั้งนี้ขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจของพวกเขามีการเจริญเติบโตมากขึ้น โดยเปิดโอกาสให้พวกเขาได้เข้ามาเรียนรู้ และรับฟังคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญได้โดยตรงจากบริษัทชั้นนำที่มีชื่อเสียงในโลกอีคอมเมิร์ซ โดยเราได้จัดทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ที่สามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ค้าออนไลน์ในทุกขั้นตอนของการขาย ตั้งแต่การตั้งหน้าร้าน ไปจนถึงการทำการตลาด และการสร้างฐานผู้บริโภค เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นผู้ค้าออนไลน์จำนวนมากเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ และหวังว่า เราจะประสบความสำเร็จร่วมกันในอนาคต

การกำหนดราคา

แล้วแต่เจ้าของสินค้าจะเป็นคนกำหนดราคาสินค้าชนิดนั้นๆๆ

การจัดช่องทางการจำหน่าย


หลังจากที่คุณได้ทำการสั่งซื้อสินค้าบนเว็บไซต์แล้ว คำสั่งซื้อของคุณจะเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อเป็นตรวจสอบว่าการชำระเงิน ข้อมูลสำหรับการติดต่อ และข้อมูลสำหรับการจัดส่งนั้นถูกต้องหรือไม่
เราจะทำการแจ้งให้คุณทราบผ่านทางอีเมลล์และ SMS เมื่อสินค้าของคุณได้รับการจัดส่งแล้ว ระยะเวลาในการดำเนินการจัดส่งสินค้าจะถูกระบุอยู่ในหน้าสินค้าระหว่างกระบวนการชำระเงิน และหน้าการสั่งซื้อสินค้าเสร็จสมบูรณ์
คลิกที่ เพื่อตรวจสอบระยะเวลาในการดำเนินการจัดส่งสินค้าของคุณ
คุณสามารถตรวจสอบสถานะของคำสั่งซื้อคุณได้ด้วย Order Tracking tool www.lazada.co.th/order-tracking.

           











































วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สรุปบทที่ 10


บทที่  10 



M-Commerce ในอนาคตสามาทำอะไรได้บ้าง


               หากพูดถึง E-Commerce หรือการค้าออนไลน์ที่กำลังมาแรงในตอนนี้ ช่องทางหนึ่งที่น่าจับตามองคือกระแสการเติบโตของการค้าบนมือถือ หรือที่เรียกกันว่า M-Commerce (Mobile Commerce) จากตัวเลขประชากรที่ใช้โทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งการใช้งาน 3G ที่จะเปิดให้ใช้งานจริงมากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ เช่น แท็บเล็ตและโทรศัพท์มือถือมีจำนวนมากและราคาถูกลง ก็ยิ่งทำให้มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือหรืออุปกรณ์พกพามากขึ้น
      การช้อปปิ้งสินค้าผ่านทางอุปกรณ์พกพาอย่างโทรศัพท์มือถือ จึงกลายเป็นเทรนด์ของผู้บริโภคยุคใหม่ที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ไม่อาจมองข้าม ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดดอทคอม จำกัด เปิดเผยตัวเลขว่า เวลานี้มีผู้เข้าเว็บไซต์ตลาดดอทคอมโดยใช้อุปกรณ์พกพาหรือโทรศัพท์มือถือสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนคนเข้าเว็บไซต์ทั้งหมด โดยยอดขายสินค้ากว่า 11 เปอร์เซ็นต์เกิดจากการซื้อ-ขายผ่านอุปกรณ์พกพา สะท้อนให้เห็นว่า โอกาสทางการค้าของ M-Commerce ในเมืองไทยมีแนวโน้มที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ   
         ผู้บริหารเว็บไซต์ที่เป็นต้นแบบของการทำธุรกิจ E-Commerce ในเมืองไทยวิเคราะห์ว่า M-Commerce จะเป็นช่องทางที่ช่วยเสริมทำให้เกิดยอดขายเพิ่มขึ้นได้ โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจว่าคนที่ซื้อสินค้าในเว็บไซต์ตลาดดอทคอมในช่วงเวลาปกติ ตั้งแต่เช้าถึงเย็นจะเป็นคนที่ซื้อผ่านทางคอมพิวเตอร์ ส่วนช่วงเวลาเที่ยงหรือช่วงหลังหกโมงเย็นเป็นต้นไป อัตราการซื้อสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือจะเติบโตขึ้นมาก โดยเฉพาะช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ที่คนทำงานอาจไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการซื้อสินค้าออนไลน์ ฉะนั้น จะเห็นว่าช่องทาง M-Commerce เป็นช่องทางเสริมของการซื้อ-ขายออนไลน์ และเป็นช่องทางในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ ผู้ประกอบการ E-Commerce ในเมืองไทยจึงควรหันมามองและวางแผนในการใช้ช่องทางนี้เช่นกัน
ถึงแม้ในขณะนี้ จำนวนเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ที่รองรับรูปแบบบนมือถือในประเทศไทยจะยังมีจำนวนไม่มากนัก แต่ภาวุธเชื่อว่าในปี 2556 นี้ ผู้ประกอบการ E-Commerce หลายรายน่าจะเริ่มมีการขยับขยาย พัฒนารูปแบบเว็บไซต์ให้รองรับ Version บนมือถือมากขึ้น 

                โดยจากการรีเสิร์ชพบว่า เว็บไซต์ซื้อ-ขายออนไลน์ที่เป็น E-Commerce หรือ M-Commerce ก็ตาม ส่วนใหญ่มักจะเป็นการซื้อ-ขายผ่าน Mobile Version หรือเว็บไซต์ที่เป็นด้าน Mobile มากกว่าเป็น Application ด้วยตัวแอพพลิเคชั่นค่อนข้างมีข้อจำกัด ยุ่งยาก เพราะต้องทำให้คนโหลดแอพพลิเคชั่นนั้นเสียก่อน ซึ่งที่ผ่านมามีอัตราการเปิดแอพพลิเคชั่นใหม่สูงถึง 20 แอพฯ ต่อเดือน แต่คนที่ใช้จริงเพียงแค่ 4-5 แอพฯ เท่านั้น จึงจะมีแอพฯ อีกเกือบ 15 แอพฯ ที่โหลดมาโดยไม่ได้ใช้ และแอพฯ ใน E-Commerce คือส่วนหนึ่งในนั้น 
ฉะนั้น การที่ผู้ประกอบการอี-คอมเมิร์ซใช้แอพพลิเคชั่นในการขายสินค้าจึงเป็นการสร้างข้อจำกัดให้กับตัวเอง และสร้างขั้นตอนที่ยุ่งยากให้กับผู้ใช้มากขึ้น จึงแนะนำให้ผู้ขายสินค้าออนไลน์หันไปทำ M-Commerce โดยพัฒนาช่องทางการขายผ่าน Mobile Version เพราะการใช้งานจะสะดวกและรวดเร็วมากกว่า ซึ่งวิธีการแปลงเว็บไซต์ร้านค้าให้มาอยู่บนมือถือนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพราะปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีที่สามารถตรวจเช็กได้ว่า หากมีผู้บริโภคใช้โทรศัพท์มือถือเข้ามาทำการซื้อ-ขายออนไลน์ ระบบก็จะดึงหน้าเว็บไซต์ที่แสดงบนมือถือให้เลย ในขณะเดียวกันหากใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาก็จะเปลี่ยนเป็นเวอร์ชั่นหน้าเว็บไซต์ปกติให้ทันที ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จำเป็นที่เราต้องนำมาใช้พัฒนาเพื่อให้รองรับกับระบบมือถือมากขึ้น

                  ส่วนในแง่การทำการตลาดออนไลน์ระหว่าง E-Commerce และ M-Commerce นั้นจะแตกต่างกันเล็กน้อย เช่น การทำ SEO การปรับแต่งบน Search Engine ก็จะมีความแตกต่าง เนื่องจากการค้นหาสินค้าในมือถือจะมีการนำตำแหน่งของคน ณ ขณะนั้นเข้ามาร่วมวิเคราะห์ร่วมในการค้นหาผลลัพธ์ การปรับแต่งหรือให้น้ำหนักของการตลาดจึงจะต้องมีมิติและชั้นเชิงมากขึ้น เช่น การทำตลาดในกลุ่มลูกค้าที่ใช้บริการทางมือถือ ก็ต้องปรับให้เข้ากับอุปกรณ์ IT หรือ Device ต่างๆ เช่น การส่งอีเมลใหญ่ๆ อาจจะไม่ค่อยเวิร์ก ต้องปรับเป็นรูปแบบอีเมลที่ทำสำหรับใช้บนมือถือโดยเฉพาะ 

                   ทั้งนี้ ข้อจำกัดของ M-Commerce ซึ่งเป็นอุปกรณ์พกพาต่างๆ จะมีสกรีนไซส์หรือขนาดหน้าจอที่เล็ก การนำเสนอข้อมูลสินค้าต่างๆ อาจจะทำไม่ได้ครบถ้วนเต็มที่เหมือนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรม Flash Player หรือไฟล์วิดีโอต่างๆ นั้นจะมีข้อจำกัดในระดับหนึ่ง ซึ่งถ้าหากผู้ประกอบการ M-Commerce วางแผนดีๆ ก็สามารถปรับแต่งหน้าตาร้านค้าออนไลน์ให้รองรับตรงจุดนี้ได้

                   ข้อแนะนำสำหรับผู้ประกอบการ E-Commerce ในยุคนี้ จึงควรเริ่มสร้างเว็บไซต์ในรูปแบบที่รองรับสำหรับการใช้งานบนมือถือ (Mobile Site) และคิดกลยุทธ์การเข้าถึงลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์มือถือมากขึ้น นอกเหนือจากทางการใช้เว็บไซต์ปกติ แต่ก็มีข้อควรระวังก่อนที่จะทำการตลาดหรือทำการสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทางนี้ เพราะการซื้อ-ขายออนไลน์ผ่านทางมือถือ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ฉะนั้น จึงต้องเตรียมรับมือกับลูกค้ากลุ่มนี้ด้วยเช่นกัน ที่สำคัญคือ พฤติกรรมของตัวผู้ประกอบการ E-Commerce เองก็ต้องปรับให้ทันกับระบบ M-Commerce เพราะบางรายยังไม่ปรับมาใช้อินเทอร์เน็ตผ่านทางโทรศัพท์มือถือด้วยซ้ำ หากผู้ขายยังไม่เริ่มต้นใช้ ก็ไม่สามารถเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าอย่างแท้จริง

                  cloud computing ระบบคอมพิวเตอร์เหนือเมฆ

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgGKYwD5jA6klyWXRxnw-3k3V_TMqdE28tACdpTS_nuslAZ27Y7njCa2yHct7NiTifOUM3BhoOEokhYREp_uXxDbdUYMQPo2OFcJIye6hK3pn3FY8mege48syphAFT5P0_Qxg5ig4VCONtR/s320/cloud+computing.jpg
                Cloud Computing เกิดจากการแทนสัญลักษณ์อินเตอร์เน็ตด้วยรูปก้อนเมฆ  คำว่าก้อนเมฆก็ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Cloud ดังนั้นเมื่อเกิดระบบคอมพิวเตอร์ที่ทำงานบนอินเตอร์เน็ตจึงเทียบเคียงได้เหมือนกับการทำงานบนก้อนเมฆ และผู้ที่เรียกคำนี้เป็นคนแรกก็ไม่ใช่ใครอื่นใดนั่นก็คือ อีริค ชมิดท์ ซีอีโอของ google นั่นเอง 
   
                 หากจะอธิบายกระบวนการของ Cloud Computing ให้ง่ายที่สุดมันก็เหมือนกับการฝากขายสินค้าในเซเว่นอีเลฟเว่น ที่ผู้ผลิตไม่ต้องมีหน้าร้านค้าเอง ไม่ต้องมีระบบส่งของ แต่จะมีมืออาชีพมาจัดการด้านการขายและกระจายสินค้าให้ได้เป็นอย่างดี โดยคิดค่าบริการตามความเหมาะสม   ระบบ Cloud Computing ก็เช่นเดียวกันที่ผู้ผลิตไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของตน แต่เป็นการใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญที่จัดการให้เสร็จสรรพ ตัวอย่างผู้ให้บริการ Cloud Computing ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือ Amazon EC2 ที่เปรียบเป็นเหมือนบริการ server สำหรับทำงานและประมวลผลข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต  ผู้ใช้เพียงแค่อัพโหลดข้อมูลฮาร์ดดิสก์ทั้งลูกที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการให้เรียบร้อยขึ้นสู่ server ของ amazon ระบบ Cloud Computing ก็จะประมวลผลข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ลูกนั้น พร้อมมีช่องทางอินเตอร์เน็ตให้ครบครัน ผู้ใช้บริการไม่ต้องซื้อ server หรือ จ้างวิศวกรมาดูแล เพียงแค่ จ่ายค่าบริการให้ Amazon ตามอัตราการใช้งาน เช่น เวลาในการประมวลผลบน CPU หรือจำนวนข้อมูลรับส่ง แล้วหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบสำรองข้อมูลไม่ให้ล่มก็เป็นหน้าที่ของ Amazon เราโยนงานที่ไม่เก่งให้ผู้เชี่ยวชาญดูแล 
    
                  ถึงตรงนี้บางคนก็สงสัยว่าแล้วมันต่างกับการเช่า server อย่างไร คำตอบคือ Cloud Computing นั้นไม่ได้ทำงานบนเครื่องเดียวเหมือนกับการเช่า server แต่เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันคล้ายๆกับ Grid Computing ข้อดีของระบบ Cloud Computing จึงเป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง  สามารถรับภาระการทำงานหนักๆได้ ยกตัวอย่างเว็บ Twitter มีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วมาก ถ้าใช้ server ของตัวเองคงจะมีปัญหาว่าต้องใช้ server เท่าไหร่จึงจะเหมาะสม เพราะจำนวนผู้ใช้มีเพิ่มขึ้นตลอดเวลา แต่ถ้าใช้ระบบ Cloud Computing จะไม่เป็นปัญหา สามารถกระจายการทำงานไปยัง server อื่นๆโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องกังวลว่า server จะล่มเมื่อมีผู้ใช้บริการมาก
   
                 ในปัจจุบันนอกจาก Amazon EC2 ผู้ให้บริการระบบ Cloud Computing อื่นก็มี เช่น Amazon S3, Google App Engine, Window Azure และ Salesforce.com ระบบ Cloud Computing จึงมีประโยชน์ในแง่ธุรกิจ เพราะลดความเสี่ยงจากความเสียหายในสิ่งที่ไม่เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ผู้ใช้ตามบ้านเองก็ได้รับประโยชน์เช่นกัน ยกตัวอย่างโปรแกรม Panda Cloud Antivirus ที่ไม่ต้องคอยอัพเดตตลอด เนื่องจากนำข้อมูลไปทำงานบน server จึงได้รับการป้องกันจากขุมพลัง Cloud Computing อยู่เบื้องหลัง  ซึ่งมีแนวโน้มว่าบริการโปรแกรมต่างๆ ขึ้นไปอยู่บนอินเตอร์เน็ตและจัดการด้วยระบบ Cloud Computing มากขึ้นเรื่อยๆ เช่นบริการแต่งภาพ ทำเอกสารบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ราคาแพง คุณสมบัติสูง และไม่ต้องลงโปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วที่นี้ใครคิดว่าอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงนั้นไม่สำคัญก็คงต้องอาจเปลี่ยนใจ  เพราะทุกอย่างกำลังไปอยู่บนโลกอินเตอร์เน็ต

  ข้อดีของ Cloud Computing


1) ลดต้นทุนค่าดูแลบำรุงรักษาเนื่องจากค่าบริการได้รวมค่าใช้จ่ายตามที่ใช้งาน จริง เช่น ค่าจ้างพนักงาน ค่าซ่อมแซม ค่าลิขสิทธิ์ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าอัพเกรด และค่าเช่าคู่สาย เป็นต้น
2) ลดความเสี่ยงการเริ่มต้น หรือการทดลองโครงการ
3) สามารถลดหรือขยายได้ตามความต้องการ
4)ได้เครื่องแม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพ มีระบบสำรองข้อมูลที่ดี มีเครือข่ายความเร็วสูง
5) อยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ

ข้อเสียของ Cloud Computing

1) จากการที่มีทรัพยากรที่มาจากหลายแห่ง จึงอาจเกิดปัญหาด้านความต่อเนื่องและความรวดเร็ว
2) ยังไม่มีการรับประกันในการทำงานอย่างต่อเนื่องของระบบและความปลอดภัยของข้อมูล
3) แพลทฟอร์มยังไม่ได้มาตรฐาน  ทำให้ลูกค้ามีข้อจำกัดสำหรับตัวเลือกในการพัฒนาหรือติดตั้งระบบ site
4) เนื่อง จากเป็นการใช้ทรัพยากรที่มาจากหลายที่หลายแห่งทำให้อาจมีปัญหาในเรื่องของ ความต่อเนื่องและความเร็วในการเข้าทรัพยากรมากกว่าการใช้บริการHost ที่ Local หรืออยู่ภายในองค์การของเราเอง

RFID

            จำหน่ายบัตรมีชิปหรือไม่มีชิป บัตรอาร์เอฟไอดี รับพิมพ์บัตรสมาชิก พิมพ์บัตรนักเรียน พิมพ์บัตร Proximity พิมพ์บัตร Mifare จำหน่ายสายรัดข้อมือRFID ริสแบนด์RFID เครื่องอ่าน-เขียนแท็ก (RFID Reader) เรามีทีมงาน ผู้เชี่ยวชาญงานออกแบบสำหรับงานต่างๆ อาทิเช่น ระบบลงทะเบียนเข้างานอีเว้น , ระบบนับสินค้าคงเหลือในคลังสินค้า , ระบบลานจอดรถ(Parking) , ระบบเข้า - ออก พนักงาน หรือ นักเรียน , ระบบร้านค้า ร้านอาหาร คูปองอาหาร และ ระบบสมาชิกต่างๆ ที่ต้องการเก็บข้อมูลของสมาชิกรวมถึงการสร้างโปรแกรมระบบเชื่อมต่อกับระบบคิดเงิน POS ฯลฯมาอย่างยาวนานเราบริการ ด้วยความเต็มใจรับให้คำปรึกษาประเมินราคา ฟรีจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้โดยเฉพาะ เพราะ เราตระหนักดีว่าการบริการคือส่วนหนึ่งของบริษัทของเรา เราจึงครองใจ ลูกค้าหลายท่านมาอย่างยาวนาน
  

SERVICE FOR MY CUSTOMER....

1. จำหน่ายบัตรอาร์เอฟไอดี (RFID Card) เช่น บัตรพร็อกหรือบัตรคลื่นต่ำ 125 KHz. (Proximity card), บัตรมายแฟร์หรือบัตรคลื่นสูง 13.56 MHz. (Mifare 1K, 4K card) ,บัตรคลื่นสูงยิ่ง 920-925 MHz.( UHF card) ,บัตร 2 ชิป (Dual card) , บัตรพลาสติก, สายรัดข้อมืออาร์เอฟไอดี (ริสแบนด์ RFID) ทุกคลื่นความถี่ (Wristband RFID)และ เครื่องอ่านบัตร อาร์เอฟไอดี (RFID card Reader) ทุกคลื่นความถี่
2. รับทำนามบัตรพลาสติก รับพิมพ์บัตรRFID บัตรพรีปริ้น(Pre-Print) รับพิมพ์บัตรพร๊อก (proximity card printing) รับพิมพ์บัตรมายแฟร์ (Mifare card printing) งานพิมพ์บัตรต่างๆ ด้วยระบบออฟเซ็ต (Offset Printing System) พร้อมบริการออกแบบรูปแบบ อาร์ตเวิร์ค Artwork, สายคล้องแบบมีโลโก้เรซิ่น และ ซองใส่บัตรทั้งแนวตั้งและแนวนอน เช่น บัตรพนักงาน นามบัตร บัตรจอดรถ บัตรสมาชิก บัตรเข้างานสัมนา บัตรเข้างานอีเว้นท์ บัตรส่วนลด บัตรคอนเสิร์ต บัตรนักเรียน บัตรนักศึกษา ฯลฯ
3. รับออกแบบระบบRFID และติดตั้งระบบRFID แบบครบวงจร ตามความต้องการของลูกค้า เช่น ระบบลงทะเบียนเข้าสัมนา (Seminar) หรือ งานอีเว้น (Event) แบบ RFID Wireless
เราออกแบบโดยผ่านอุปกรณ์ควบคุม (Controller) เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ดังนั้นจึงลดการใช้คอมพิวเตอร์ และ พนักงานหน้างาน ได้เป็นอย่างดี
เราบริการ ทั้งจำหน่าย และ ระบบเช่าโปรแกรมพร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง



บริษัท วงคำหาญ เพนท์ อุตสาหกรรม จำกัด

 ระบบบันทึกเวลา เข้า-ออกงานด้วยเทคโนโลยี RFID  บริษัท วงคำหาญ เพนท์ อุตสาหกรรม จำกัด

             การพัฒนา ระบบบันทึกเวลาเข้า – ออกงาน ด้วยเทคโนโลยี RFID กรณีศึกษา บริษัท วงคำหาญ เพนท์อุตสาหกรรม จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพเข้ามาทำงานแทนระบบงานเดิมที่ใช้มือทำ วิธีการดำเนินงานประกอบด้วย การศึกษาระบบงานเดิมและรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูล โดยพัฒนาขึ้นบนระบบปฏิบัติการ Windows 7 ใช้โปรแกรม Visual Basic.Net และสร้างฐานข้อมูลด้วย Oracle Database 10g Express Edition ในการพัฒนาระบบประกอบด้วย 2 โปรแกรม ได้แก่ โปรแกรมที่ใช้ในการรับการแตะบัตรเข้างานของพนักงาน กับ โปรแกรมจัดการข้อมูลภายในระบบ และ สร้างรายงานที่ต้องการ ผลการศึกษาพบว่าระบบบันทึกเวลาเข้า – ออกงาน ด้วยเทคโนโลยี RFID กรณีศึกษา บริษัท วงคำหาญ เพนท์อุตสาหกรรม จำกัด มีความถูกต้องและสารสนเทศที่ได้ครบถ้วนตามความต้องการ ผลการทำงานอยู่ในเกณฑ์ดี


               การนำเอาเทคโนโลยี RFID มาประยุกต์ใช้งานร่วมกับระบบบริหารจัดการคลังสินค้า ทำให้การรับและการจ่ายสินค้าทำได้ง่าย และสะดวกมากขึ้น ช่วยลดขั้นตอนในการจัดเก็บ/เบิกจ่ายสินค้า และ
ช่วยลดความผิดพลาดในการทำงานของคลังสินค้า (หลังจากการประยุกต์ใช้ระบบ RFID ทำให้เกิดความถูกต้องทั้งหมดในการตรวจนับสินค้า [Cycle Count] แต่ละครั้ง) ช่วยลดปริมาณกระดาษ
ที่ใช้ อีกทั้งยังได้ข้อมูลการบริหารจัดการคลังสินค้าที่เป็นแบบReal-time ทำให้การหมุนเวียนของสินค้าภายในคลังดีขึ้น สินค้าพร้อมตอบสนองความต้องการในการขายได้รวดเร็ว ทันต่อความ
ต้องการของลูกค้า และผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Bar code

บาร์โค้ด คือ เครื่องหมายแทนข้อมูลที่เครื่องจักรสามารถอ่านได้ โดยเริ่มแรกมีลักษณะรูปแบบเป็นแท่ง หรือเส้นขนานหลายๆ เส้นใน 1 มิติที่มีความหนาต่างกันเรียงต่อกัน ถูกใช้งานอย่างแพร่หลายในซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตจะถูกติดบาร์โค้ดไว้และจะถูกอ่านค่าด้วยเครื่องอ่านบาร์โค้ด ณ จุดชำระเงิน เพื่อคิดเงินสินค้านั้นๆ




QR code

เนื่องจากข้อจำกัดของบาร์โค้ดแบบแท่ง ซึ่งเก็บค่าตัวเลขหรือตัวอักษรได้ค่อนข้างจำกัด จึงมีการพัฒนา บาร์โค้ด 2 มิติ ขึ้นมาเพื่อรองรับกับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น QR code เป็นหนึ่งในบาร์โค้ด 2 มิติที่นิยมใช้งานกันในปัจจุบัน โดยนำมาใช้เก็บข้อมูล URL ที่อยู่เว็บไซต์, ข้อความ, เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลตัวอักษรต่างๆ






สรุป

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คือ
คือ การชื้อ การขาย แลกเปลี่ยนสินค้าบริการ และข้อมูลข่าวสาร  ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
แสดงใหเเห็นว่าพาณิชย๋มีขอบเขตที่กว้างขวางอย่างยิ่ง ทั้งในเชิงดทคโนโลยีที่มัการใช้อุปกรณ์พื้นบานจำพวกโทรศัพท์ โทรสาร บาร์โค๊ด


ตัวอย่าง
การสั้งพิชช่าทางโทรศัพ
การส่งข้อมูลใบขนส่งสิ้นค้าให้
การชื้อหนังสือจากเว็ปไซต์ Amazon.com
ระบบ  EDI

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  E-Commerce ผ่านทางอินเทอร์เน๊ต
            เป็นการชื้อ - ขายผ่านอินเตอร์เน๊ต ซึ่งเป็นเครืองข่ายระบบคอมพิวเตอร์  ระบบอินเตอร์  มีร้านค้าหรือมีหน้าเว็ป แสดงรายละเอียดสิ้นค้า และบริการ พร้อมทั้งราคา ตลอดจนวิธีการขนส่ง และชำระเงิน
ในไทยยังไม่ได้รับความนิยม เมื่อเทรียบกับประเทศอื่น


ความหมาย E-Commerce  เป็นส่วยหนึ่งของ E- Business
E-Commerce   ชื้อระหว่างผู้ชื้อกับผู้ขาย
E- Business    การบริการลูกค้า การร่วมมีอระหว่างบริษัท-บริษัทคู่ค้า

ความหมาย  E- Business
หมายถึง  การดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยี ด้านอีเล็กทรอนิกส์ หรือ อินเทอร์้น็ตเป็นสื่อกลาง
โดยมีการประยุกต์ใช้ในทุกกิจกกรรมทั้งในส่วนของหน้าร้าน
Front Office    =
Back    =
E-Supply Chain =


เศรษฐกิจแบบดิจิทัล   ( Digital Economy )

ปัจจจุยันเรากำลังเข้าสู้ยุคเศษฐกิจใหม่ หรือที่เรียกว่า เศษฐกิจแบบดิจิทัล
โดยมีการโอนถ่ายข้อมูลผ่านเครื่อข่ายอินเตอร์เน๊ต มากกว่าจะใช้กระดาษแบบเก่า
การเข้ามาของ  E-commerce   ได้ก่อห้เกิดการเปลี่ยนแปลอย่างมาก เป็นการนำเข้าสู่ระบบ Digital Economy

แนวคิดในการบริหารจัดการธูรกิจ
1. Digital Commerce   การค้าบนระบบดิจิตอล
2. Digital Transformation การนำเอาเทคโนโลยีดิจิตอล  มาทำให้เกิดมูลค่า
3. Digital Consumqtion  เป็นการนำเทคโนโลยีมา ทำการชื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการที่มีอยู่เดิม


Pure E-commerce การทำธุรกรรมม E-ommerce  ใน รูปแบบดิจิตอลทุกขั้นตอน 1 การสั้งชื้อสินค้าและบริการ 2.กระบวนการชำระเงิน 3.การส่งมอบ

ตัวอย่างเช่น การชื้อขาย โปรแกรม เพลงหรือ เกมส์ ผ่านอินเตอร์เน๊ตด้วยบัตร



Partial E-commerce  and Brick and Mortar ORganization

Partial E-commerce คือ การทำธุรกรรม E-commerce บางขั้นตอน บางรูปแบบยังอยู่ในรูปแบบกายภาพ
Physical
Brick and Mortar ORganization คือ องค์กรที่มีกระบวนการชื้อสินค้าแบบทั่วไปองค์กรธุรกิจ( Pure Physical)
Click and Mortar Organization คือ องค์กรที่มีกระบวนการชื้อขายสิ้นค้าแบบ EC ในบางขั้นตอนของการชื้อขายสินค้า


ประเภทของการพาณิชย์อิเล๊กทรอนิกส์

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สานสามารถจัดประเภทของการดำเนินธุรกิจ
*****************************************************




Business-to-Business B2B  สิ้นค้าระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ   เช่น ผู้ผลิตขายส่งให้แก่พ่อค้าคนกลาง

Business-to-Consumer B2C เป็นการค้าแบบขายปลีกกับผู้บริโภคทั่วไป

E-commerce แบบ B2G   รูปแบบการจำหน่ายสิ่นค้าโดยตรงจากผู้ค้ากับรัฐบาลโดยตรง

    C2C คือ เป็นรูปแบบการชื้อขาย สินค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค
P2P  
C2B  คือ โดยผู้บริโภคจะรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มต่อรองกับ


Mobile Commerce
เป็นรูปแบบการค้าในระบบไร้สาย

ประเภท E-Commerce  แยกตามลักษณะผู้ใช้บริการ


Online Catalog
E-tailer  ร้านต้าปลีก เป็นรูปแบบการจำลองร้านค้าบนอินเทอร์เน๊ต เพื่อการขายสินค้าแบบครบวงจร
Auction   การประมูลสินค้าทางอินเทอร์เน๊ต เป็นรูปแบบการขายสินค้าผ่าน ทางประมูล
Web Board  คือ การประกาศขายสินค้าในเว็ปไซต์ ในรูปแบบหนังสื่อพิมพ์
E-Marketplace คือ ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์  เป็นตลาดออนไลน์กับเฉพาะกลุ่ม




แรงผลักดันด้านทางธุรกิจ


แรงกดดันด้านเทคโนโลยี
 - เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลเร็ว
 - มีนาวัฒกรรมและเทคโนโลยีใหม่
 - สารสนเทศมากเกิน
 - ต้นทุนด้านเทคโนโลยีลดลง

การนำ ไอที และ E-commerce มาใช้
ช่วยลดเวลาของการทำงาน
พนักงานมีอำนาจในการปฏิบัติ การตัดสินใจ


ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นช่องทางการค้าที่น่าสนใจมาก เพราะนับวันก็ยิ่งมีผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งส่งผลให้การค้าทางอินเตอร์เน็ตขยายตัวได้อย่าง รวดเร็วและการทำธุรกิจบนเว็บไซต์นั้นสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้มากมายหลายประการ ได้แก่
  1. ทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่งโมง และขายสินค้าได้ทั่วโลก นักท่องอินเตอร์เน็ตจากทั่วทุกมุมโลกสามารถเข้ามาในเว็บไซต์ของบริษัทได้ตลอดเวลาผู้ขายสามารถนำเสนอสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆได้อย่างรวดเร็ว โดยคำสั่งซื้ออาจเกิดขึ้นตลอด 24 ชั่วโมงและมาจากที่ต่างๆกัน 
  2. ข้อมูลทันสมัยอยู่เสมอ และประหยัดค่าใช้จ่าย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นั้นมีประโยชน์ที่สำคัญมากอีกประการหนึ่ง คือสามารถ เสนอข้อมูลที่ใหม่ล่าสุดให้กับลูกค้าได้ทันทีซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เอกสาร และประหยัดเวลาในการประชาสัมพันธ์ 
  3. ทำงานแทนพนักงานขาย และเพิ่มประสิทธิภาพการขาย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถทำงานแทนพนักงานขายของคุณได้ โดยสามารถทำการค้าในรูปแบบอัตโนมัติ และดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการทางธุรกิจภายในองค์กรนั้นๆ 
  4. แทนหน้าร้าน หรือบูทแสดงสินค้า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถแสดงสินค้าที่มีอยู่ให้กับลูกค้าทั่วโลกได้มองเห็นสินค้าของคุณ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายตกแต่งหน้าร้าน หรือในการเดินทางออกไปในบูทแสดงสินค้าในที่ต่างๆ